TH

EN

บทความตัวอย่าง

          นี่คือบทความตัวอย่างสำหรับการจัดอบรม โดยจะมุ่งเน้นไปที่ด้านการทำความรู้จักกับเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ใน Elementor Pro เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสร้างบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน หรือเมื่อมีประกาศสำคัญจากหน่วยงานที่ต้องการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ โดยจะขอแนะนำเครื่องมือและการตั้งค่าต่างๆ ผ่านบทความตัวอย่างนี้

นี่คือแถบ “Elements” มีหน้าที่ในการรวบรวม เครื่องมือ หรือองค์ประกอบต่างๆ ในการสร้างบทความ โดยจะมีเครื่องมือที่สำคัญ และนิยมใช้ในการสร้างบทความจะมีดังต่อไปนี้

Layout

  • Container คือกรอบของการจัดวางองค์ประกอบ โดยเน้นไปที่การจัดวางที่สามารถ กำหนดแนวทางการแสดงผล เช่น ต้องการให้เนื้อหาแสดงผลไปทางขวา หรือซ้าย

 

  • Grid คือกรอบของการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นการจัดวางแบบขนาดเท่ากัน มีระเบียบ สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องการให้แสดงผลด้วยจำนวนกี่แถวและคอลัมน์

Basic

  • Text Editor ใช้สำหรับการกรอกข้อความ โดยสามารถกำหนดลักษณะต่างๆของข้อความได้

 

  • Image ใช้สำหรับการแทรกรูปภาพเข้าสู่บทความ โดยสามารถเลือกรูปภาพและขนาดที่ต้องการได้

 

  • Video ใช้สำหรับแทรกวิดีโอโดยสามารถใส่ Links หรือจะเลือกจากอัปโหลดก็สามารถทำได้

Pro

  • Gallery ใช้สำหรับการจัดวางรูปภาพที่เน้นความเป็นระเบียบ แต่ขนาดของรูปภาพไม่เท่ากัน หรือต้องการแสดงภาพที่มีความต่อเนื่องกัน

 

เมื่อต้องการเข้าถึงแถบ Elements สามารถเลือกได้ที่ ปุ่ม + บนมุมซ้ายบน

Container

สามารถเพิ่มได้โดยการลากเครื่องมือ Container จากแถบ Elements มาวางยังพื้นที่ทำงาน สำหรับการแทรกรูปภาพ ข้อความ และวิดีโอสามารถทำได้โดยลากเครื่องมือดังกล่าวมาวางที่ Container หรือคลิกที่เครื่องหมาย + ใน Container เพื่อเลือกเครื่องมือที่ต้องการมาใส่ใน Container

การตั้งค่าของ Container

การตั้งค่า Container ประกอบด้วย

  • รูปแบบของ Container (Container Layout) สามารถเลือกได้ว่าจะให้ Container แสดงผลแบบปกติ (Flexbox) หรือ รูปแบบตาราง (Grid)

 

  • ขนาดของ Container (Container Width) สามารถปรับขนาดของ Container ได้โดยการกำหนดค่าของ ความกว้าง (Width) และ ความสูงขั้นต่ำ (Min Height)

 

  • แนวทางการจัดวางเนื้อหา (Direction) สามารถเลือกได้ว่าจะให้การจัดวางเนื้อหาเป็นไปในแนวทางไหน และเริ่มต้นจากทางไหน

 

  • การกระจายเนื้อหาตามทิศทางหลักของเนื้อหา (Justify Content) โดยการกระจายตัวของเนื้อหานั้นจะอ้างอิงจาก Direction ซึ่งแนวทางการจัดวางเนื้อหาเป็นไปตามภาพต่อไปนี้

 

  • การกระจายเนื้อหาตามแนวตัดกับทิศทาง (Align Items) เช่น หากเลือก Direction ให้เนื้อหาแสดงผลไปทางขวา Align Items ก็จะเลือกการกระจายเนื้อหาตามแนวตั้ง ซึ่งจะตัดกับทิศทางของเนื้อหา

Grid

Grid เป็นการจัดรูปแบบของเครื่องมือในลักษณะตารางที่มีความเท่ากัน เหมาะสำหรับเนื้อหาที่มีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน 
สามารถเพิ่มได้โดยการลากเครื่องมือ Grid จากแถบ Elements มาวางยังพื้นที่ทำงาน สำหรับการแทรกรูปภาพ ข้อความ และวิดีโอสามารถทำได้โดยลากเครื่องมือดังกล่าวมาวางที่ Grid หรือคลิกที่เครื่องหมาย + ใน Container เพื่อเลือกเครื่องมือที่ต้องการมาใส่ใน Grid แต่ละช่อง

การตั้งค่าของ Grid

การตั้งค่า Container ประกอบด้วย

  • รูปแบบของ Container (Container Layout) สามารถเลือกได้ว่าจะให้ Container แสดงผลแบบปกติ (Flexbox) หรือ รูปแบบตาราง (Grid)

 

  • ขนาดของ Container (Container Width) สามารถปรับขนาดของ Container ได้โดยการกำหนดค่าของ ความกว้าง (Width) และ ความสูงขั้นต่ำ (Min Height)

 

  • การเลือกจำนวนองค์ประกอบใน Grid (Items) เป็นการเลือกจำนวนองค์ประกอบที่จะแสดงใน Grid โดยจะนับตาม Columns คูณด้วย  Rows

 

    • Columns จำนวนองค์ประกอบที่อยากให้แสดงในแนวนอน
    • Rows จำนวนองค์ประกอบที่อยากให้แสดงในแนวตั้ง

 

  • การกระจายเนื้อหาตามทิศทางหลักของเนื้อหา (Justify Content) โดยการกระจายตัวของเนื้อหานั้นจะอ้างอิงจาก Direction ซึ่งแนวทางการจัดวางเนื้อหาเป็นไปตามภาพต่อไปนี้

 

 

  • การกระจายเนื้อหาตามแนวตัดกับทิศทาง (Align Items) เช่น หากเลือก Direction ให้เนื้อหาแสดงผลไปทางขวา Align Items ก็จะเลือกการกระจายเนื้อหาตามแนวตั้ง ซึ่งจะตัดกับทิศทางของเนื้อหา

Text Editor

Text Editor เป็นเครื่องมือสำหรับการแทรกเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นตัวอักษร (เนื้อความ) เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ โดยสามารถพิมพ์เนื้อความที่กล่องข้อความโดยตรง และตั้งค่าเนื้อความได้ในภายหลัง สามารถจัดแนว การชิด การทำข้อความเป็นข้อๆ รวมถึงการแนบลิงค์ให้ข้อความ

การตั้งค่าของ Text Editor

การตั้งค่า Text Editor ประกอบด้วย

  • เนื่องจาก Text Editor มีลักษณะการทำงานด้วยการกรอกข้อความ การตั้งค่าจึงอยู่ในส่วนการตกแต่งข้อความ และการจัดบรรทัด จึงไม่มีการตั้งค่าที่ซับซ้อน

Image

Image เป็นเครื่องมือสำหรับการแทรกเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเลือกรูปภาพที่ต้องการ ผ่านการอัปโหลด หรือเลือกรูปภาพที่มีอยู่แล้วบนเว็บไซต์

การตั้งค่าของ Image

การตั้งค่า Image ประกอบด้วย

  • Choose Image คือการเลือกรูปภาพที่ต้องการใช้งานโดยสามารถแทรกได้โดยการอัปโหลด หรือเลือกภาพที่มีอยู่แล้วบนเว็บไซต์

  • Image Resolution คือการเลือกความละเอียดของรูปภาพที่ต้องการแสดงควรเลือกเป็น Full เพื่อแสดงรูปภาพที่มีความละเอียดสูงที่สุด

  • Caption เป็นการเพิ่มคำอธิบายให้กับรูปภาพ โดยจะแสดงอยู่ใต้รูปภาพ
  • Link เป็นการแนบ Link ให้กับรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถทำให้แสดงรูปภาพขนาดใหญ่ได้โดยเลือกที่ Link -> Media File และจะแสดงการตั้งค่าเพิ่มว่า Lightbox ให้เลือก Yes 

Video

Video เป็นเครื่องมือสำหรับการแทรกเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นวิดีโอ เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเลือกวิดีโอที่ต้องการ ผ่านการอัปโหลด หรือเลือกวิดีโอผ่าน Link จาก YouTube หรือแหล่งอื่นๆ

การตั้งค่าของ Video

การตั้งค่า Image ประกอบด้วย

  • Sorce คือแหล่งที่มาของวิดีโอ โดยสามารถเลือกได้จากการอัปโหลดวิดีโอด้วยตนเอง (Self Hosted) หรือวิดีโอจาก YouTube ผ่านการวางลิงค์ของวิดีโอ

 

  • Link คือการเลือกวิดีโอที่นำมาแสดงโดยสามารถนำลิงค์จาก YouTube มาวางที่ช่อง Link เพื่อเลือกวิดีโอที่ต้องการ

 

  • Start Time และ End Time เลือกช่วงเวลาที่จะเริ่มเล่นและสิ้นสุดของวิดีโอ

 

  • Video Option เป็นการกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ของวิดีโอ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    • Autoplay เริ่มวิดีโออัตโนมัติ เมื่อมีการเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ 
    • Mute ปิดเสียงของวิดีโอที่นำมาแสดง
    • Loop เลือกให้วิดีโอเล่นวนไปเรื่อยๆ
    • Player Controls เลือกเพื่อแสดงแถบการควบคุมวิดีโอให้แก่ผู้ใช้งาน

 

Gallery

Gallery เป็นเครื่องมือสำหรับการแทรกเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ (หลายรูปภาพ) เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเลือกรูปภาพที่ต้องการ ผ่านการอัปโหลด หรือเลือกรูปภาพที่มีอยู่แล้วบนเว็บไซต์ ซึ่งการวางภาพในรูปแบบ Gallery จะมีข้อดีในการสามารถจัดลำดับรูปภาพ และรับชมภาพที่มีความต่อเนื่อง

ชนิดของ Gallery

  • Grid

มีลักษณะคือ ทุกภาพถูกบีบให้มีขนาดเท่ากัน เหมาะกับภาพที่มีอัตราส่วนเท่ากัน

  • Justified

มีลักษณะคือ ทุกแถวจะถูกขยายให้เต็มความกว้าง โดยที่ภาพจะถูกปรับขนาดให้อยู่ในแถวเดียวกัน ความสูงของแถวเท่ากัน แต่ความกว้างของภาพปรับตามอัตราส่วน เหมาะกับภาพที่มีอัตราส่วนแตกต่างกัน เช่น ภาพแนวตั้งและภาพแนวนอน

  • Masonry

มีลักษณะคือ ไม่จำกัดความสูงของแต่ละภาพ แสดงภาพที่มีอัตราส่วนแตกต่างกัน ภาพเรียงต่อกันแบบอิสระ ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ เหมาะกับภาพที่ไม่มีการเรียงลำดับ เน้นการจัดแสดงที่มีความสวยงาม และเป็นธรรมชาติ

การตั้งค่าในแต่ละชนิดของ Gallery

Grid
  • Choose Image คือการเลือกรูปภาพที่ต้องการใช้งานโดยจัดลำดับของรูปภาพที่จะแสดงบน Gallery ได้

  • Columns คือการเลือกจำนวนภาพที่จะแสดงในแนวนอนของ Gallery

 

  • Spacing เป็นการปรับระยะความห่างของรูปภาพแต่ละรูป

 

  • Link เป็นการแนบ Link ให้กับรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถทำให้แสดงรูปภาพขนาดใหญ่ได้โดยเลือกที่ Link -> Media File และจะแสดงการตั้งค่าเพิ่มว่า Lightbox ให้เลือก Yes 

 

  • Aspect Ratio เป็นการเลือกอัตราส่วนภาพที่จะแสดงใน Gallery เช่น 4:3 16:9 3:2 เป็นต้น

 

  • Image Resolution คือการเลือกความละเอียดของรูปภาพที่ต้องการแสดงควรเลือกเป็น Full เพื่อแสดงรูปภาพที่มีความละเอียดสูงที่สุด
Justified
  • Choose Image คือการเลือกรูปภาพที่ต้องการใช้งานโดยจัดลำดับของรูปภาพที่จะแสดงบน Gallery ได้

  • Row Height คือการปรับความสูงของ Gallery โดยต้องตั้งค่าความสูงให้เหมาะสมในแต่ละอุปกรณ์
    • วิธีการปรับขนาดในแต่ละอุปกรณ์

    • ที่ด้านบนของหน้าต่างการทำงานจะแสดงอุปกรณ์ต่างๆ โดยสามารถเลือกอุปกรณ์อื่นๆและกรอกค่า Row Height ที่ต้องการ
      • Desktop (คอมพิวเตอร์)ไม่ควรมีขนาดเกิน 380-400
      • Laptop (โน๊ตบุ๊ค) ไม่ควรมีขนาดเกิน 350-380
      • Tablet Landscape (แท็บเล็ตแนวนอน) ไม่ควรมีขนาดเกิน 250-280
      • Tablet Portrait (แท็บเล็ตแนวตั้ง) ไม่ควรมีขนาดเกิน 230-250
      • Mobile Landscape (โทรศัพท์แนวนอน) จะมีข้อผิดพลาดในการแสดงผลระหว่างการสร้าง แต่สามารถแสดงได้ในหน้าเว็บไซต์จริง โดยไม่ควรมีขนาดเกิน 180-200
      • Mobile Portrait (โทรศัพท์แนวตั้ง) ไม่ควรมีขนาดเกิน 150-180

 

  • Spacing เป็นการปรับระยะความห่างของรูปภาพแต่ละรูป

 

  • Link เป็นการแนบ Link ให้กับรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถทำให้แสดงรูปภาพขนาดใหญ่ได้โดยเลือกที่ Link -> Media File และจะแสดงการตั้งค่าเพิ่มว่า Lightbox ให้เลือก Yes 

 

  • Aspect Ratio เป็นการเลือกอัตราส่วนภาพที่จะแสดงใน Gallery เช่น 4:3 16:9 3:2 เป็นต้น

 

  • Image Resolution คือการเลือกความละเอียดของรูปภาพที่ต้องการแสดงควรเลือกเป็น Full เพื่อแสดงรูปภาพที่มีความละเอียดสูงที่สุด
Masonry
  • Choose Image คือการเลือกรูปภาพที่ต้องการใช้งานโดยจัดลำดับของรูปภาพที่จะแสดงบน Gallery ได้

  • Columns คือการเลือกจำนวนภาพที่จะแสดงในแนวนอนของ Gallery

 

  • Spacing เป็นการปรับระยะความห่างของรูปภาพแต่ละรูป

 

  • Link เป็นการแนบ Link ให้กับรูปภาพ อีกทั้งยังสามารถทำให้แสดงรูปภาพขนาดใหญ่ได้โดยเลือกที่ Link -> Media File และจะแสดงการตั้งค่าเพิ่มว่า Lightbox ให้เลือก Yes 

 

  • Aspect Ratio เป็นการเลือกอัตราส่วนภาพที่จะแสดงใน Gallery เช่น 4:3 16:9 3:2 เป็นต้น

 

  • Image Resolution คือการเลือกความละเอียดของรูปภาพที่ต้องการแสดงควรเลือกเป็น Full เพื่อแสดงรูปภาพที่มีความละเอียดสูงที่สุด